Saturday, December 01, 2007

เกาะเกร็ดจ้า ----

ก่อนจะเป็นเกาะเกร็ด












เกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา มี พ.ท.ประมาณ 2,820 ไร่ มีสถานะเป็นตำบลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน อยู่ในเขต พ.ท.อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แต่เดิมเกาะเกร็ดมิได้เป็นเกาะ แต่เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินรูปโค้งลักษณะเป็นแหลมยื่นไปตามความโค้ง ของแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเรียกมาแต่เก่าก่อนว่า “บ้านแหลม” ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าท้านสระแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุกคลองลัดเพื่อให้การสัญจรสะดวกรวดเร็วขึ้น เรียกว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” ลำคลองกว้างเพียง 6 วา จากตำบลปากอ่าว (ปากเกร็ดในปัจจุบัน) ไปยังแอ่งน้ำซึ่งอยู่ระหว่างวัดกลางเกร็ดและวักป่าฝ้าย (วักป่าเลไลย์) และจากแอ่งน้ำผ่านไปตามคลองเดิมซึ่งอยู่ระหว่างบ้านปากด่าน และวัดชมภูราย ซึ่งปัจจุบันร้างไปแล้ว ครั้นเวลาผ่านไป ความแรงของสายน้ำที่ลัดผ่านไหลตรง ทำให้คลองกว้างขึ้น สภาพความเป็นเกาะจึงเห็นเด่นชัดเรียกกันในขั้นแรกว่า “เกาะศาลากุน” ตามชื่อวัดบนเกาะนี้ คือวัดศาลากุนต่อมาเมื่อได้ตั้งอำเภอปากเกร็ดแล้ว เกาะศาลากุนจึงได้มีฐานะเป็นตำบล เรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด ย่านเกาะเกร็ดเป็นชุมชนที่ม่ความเจริญมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นทั้งชุมทางการค้าขาย และเป็นที่ตั้งด่านตรวจเรือต่างๆ ที่จะเดินทางผ่านไปมายังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแม้ในปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกบริเวณลัดเกร็ดตอนใต้ว่าบ้านปากด่าน ประจักษ์พยานที่บ่งชี้ถึงความเจริญแต่เก่าก่อนคือ วัดต่างๆบนเกาะเกร็ด ล้วนมีความสวยงาม และลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย อยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น




เครื่องปั้นดินเผา













แต่เดิมเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดมี 2 ประเภท อย่างแรกคือ เครื่องใช้เช่นโอ่ง อ่าง ครก กระปุก อีกประเภทหนึ่งคือเครื่องปั้นดินเผาประเภทสวยงามที่เรียกว่า ลายวิจิตรที่เป็นทรงโอ่งและ หม้อน้ำซึ่งเน้นความงามองรูปทรงและการสลักลวดลาย เกาะเกร็ดเคยเป็นแหล่งผลิตภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันป้อนให้แก่ผู้ใช้แพร่หลายไปทั่ว แต่ในปัจจุบันไม่สามารถสู้กับสินค้าอุตสาหกรรมได้ ในปัจจุบันความต้องการของตลาดเปลี่ยนไปการผลิตเครื่องปั้นดินเผา จึงเน้นไปทางของที่ระลึก และของตกแต่งบ้าน โอ่ง มีโอ่งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และโอ่งขนาดกลาง มีชื่อเรียกต่างกันไป อ่าง มีอ่างขนาดต่างๆกันและมีชื่อเรียกต่างกัน เรียงตามขนาดดังนี้ - อ่างกะเทิน มีขนาดใหญ่สุด ใช้สารพัดประโยชน์ - อ่างฮร็อก ใหญ่รองลงมา - อ่างฮแร็ก - อ่างใน 1 อ่างใน 2 อ่างใน 3 อ่างใน 4 ไล่ขนาดลงมา - อ่างหมา ไว้ใช้ป้อนข้าวเจ้าของชืออ่าง แต่ใช้ประโยชน์อื่นๆได้เช่นกัน -อ่างแมว หรืออ่างตีนตู้ ชาวบ้านชอบนำไปรองตู้กับข้าวเพื่อไม่ให้มดขึ้น กระปุก กระปุกจาโต หรือ กระปุกตีนอิฐ หรือกระปุกเป็ด ที่มีหลายชื่อเพราะลูกค้าแต่ละกลุ่มนำไปใช้ประโยชน์ต่างกัน ถ้าลูกค้าทางหัวเมืองชายทะเลจะซื้อไปใช้อาหารเป็ด ส่วนลูกค้าทางเมืองปทุม สามโคก ซึ่งมีอาชีพทำอิฐขายจะซื้อไปใส่น้ำไว้ล้างมือ กระปุกน้ำตาล ไว้ใส่น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึกตามชื่อ กระจาวี ไว้ใส่ปูน กระปุกดับถ่าน ครก ครกเกาะเกร็ด แยกตามลักษณะรูปทรงออกเป็นสองแบบคือ ครกธรรมดากับครกตีนช้าง ครกธรรมดาจะมีลักษณะทรงเอวคอด ส่วนครกตีนช้างจะมีส่วนกว้างลักษณะเหมือนตีนช้าง โอ่ง, หม้อลายวิจิตร เครื่องปั้นประเภทสวยงามมีหลายรูปทรง หลายประเภทลายแล้วแต่ช่างจะสร้างสรรค์ แต่รูปทรงที่มีแบบหลักๆคือ - โอ่งทรงสูง - โอ่งทรงโกศ - โอ่งทรงแป้น - โอ่งทรงโหล



หันตรา




เป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุนมาก แต่จะต่างกันก็ตรงที่หันตราจะมีน้ำค้างของไข่ขาว (มีลักษณะเป็นเส้นๆสีขาวๆ)เป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มความอร่อย ซึ่งขนมหันตรานี้เป็นขนมที่เลื่องชื่อของเกาะเกร็ดมานาน

วัดปรมัยยิกาวาส



เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร วัดปรมัยยิกาวาส เดิมชื่อวัดปากอ่าว มีอายุ 200 ปี เป็นวัดรามัญมาแต่โบราณ เรียกตามภาษารามัญว่า เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง แปลว่า วัดหัวแหลม ไทยเรียกวัดปากอ่าว ในปี พ.ศ. 2417 พระสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐิน ณ.วัดปากอ่าวครั้นเสด็จพระราชทานกฐินแล้ว เสด็จพระราชดำเนินรอบพระอารามทรงเห็นว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีแต่ ทรุดโทรมกว่าพระรามอื่นๆจึงทรงมีพระราชศรัทธาที่จะสถาปนาให้ดีขึ้น เพื่อสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าบรมหัยยิกาเธอกรมสมเด็จพระสุดา- รัตนราชประยูรผู้ทรงอภิบาลเลี้ยงดูพระราชมารดาและพระองค์แต่ยัง ทรงพระเยาว์ถวาย เป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงทรงตรัสพระราชดำริที่จะปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ แก่พระคุณาวงศ์ การปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าวเริ่มเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ปีจอ ฉศก จุลศักราช1236 โดยสร้างกุฏิสงฆ์ เสนาสนะทั้งปวงทางทิศเหนือ สร้างหอกลางชั้นล่างเป็นหอฉัน ชั้นบนทำหอไตรต่อมามีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกหลายครั้ง เช่น พระอุโบสถ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากนั้นทรงโปรดฯให้รื้อออกทั้งหมดแล้วสร้างขึ้นใหม่ วิหารพุทธไสยาสน์ ก็โปรดฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ พระบุษบก โปรดให้ซ่อมของเดิมให้งดงามขึ้น บุษบกองค์นี้ไม่มีที่ใดเหมือน เป็นศิลปะรามัญที่ช่างได้นำศิลปะไทยเข้าไปเจือปน จึงดูแปลกตา บุษบกอันนี้นับเป็นโบราณวัตถุที่สวยงาม และควรค่าแก่การรักษายิ่ง พระไตรปิฎก พระบาทสมเด็กพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจะรวบรวม พระไตรปิฎกอักษรรามัญให้สมบูรณ์จะได้เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ สามเณฝ่ายรามัญที่จะศึกษาเล่าเรียน จึงทูลให้พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูรสละพระราชทรัพย์เพื่อสร้างพระไตร- ปิฎกอักษรรามัญพระไตรปิฎกวัดปรมัยฯ นับเป็นพระไตรปิฎกอักษรรามัญฉบับหลวง ฉบับเดียวในประเทศไทย และครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดไม่มีที่ใดเสมอเหมือน พระเจดีย์ ด้านหลังพระอุโบสถเป็นลานกว้าง จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างเจดีย์ทรงรามัญ พระราชทานนามว่า พระมหารามัญเจดีย์ พระราชทานนามวัด เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้สเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าให้ปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าวจนหมู่กุฏิเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว จึงมีหมานกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินมาเพื่อประกอบราชกุศล แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระอารามนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศ พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูรว่า “วักปรมัยยิกาวาศ” (บรม+อัยยิกา+อาวาศ) แปลว่า วัดของยาย ภายหลังเขียนเป็น วัดปรมัยยิกาวาส สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดปรมัยฯ
-พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยฯ
-เป็นแหล่งศิลปกรรมเกี่ยวกับพระศาสนา
-โรงทำลูกหนู
-สวกภาษามอญ
-เป็นสำนักเรียนบาลีรามัญ
-เป็นศูนย์รวมของพระสงฆ์และชาวบ้าน

No comments: