Wednesday, April 25, 2007

ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน


ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้่ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการของประเทศตั้งแต่ปี 1992 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา
ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็น
ชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาราชการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส

ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวของ
รัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี 1993 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐ
นิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาราชการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก

ไขความลับ “ยิ้มโมนาลิซา” ของ “ดาวินชี”



นิวส์ไซแอนติส – กว่าหลายศตวรรษมาแล้วที่เหล่าศิลปิน นักประวัติศาสตร์ และนักท่องเที่ยวต่างเดินพาเหรดไปที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ประเทศฝรั่งเศส เพื่อหวังไขปริศนารอยยิ้มอันลึกลับน่าฉงนของ “โมนา ลิซา” ผลงานชิ้นโบว์แดงของ “ลิโอนาโด ดาวินชี” และตอนนี้ 2 นักวิจัยทางด้านจักษุศาสตร์ก็เริ่มมองเห็นปริศนาบางอย่างจากภาพโมนาลิซา ว่าไฉนมองมุมไหนถึงยิ้มพิมพ์ใจไปเสียหมด


คริสโตเฟอร์ เทย์เลอร์ และลีโอนอยด์ คอนต์เซวิช แห่งสถาบันวิจัยทางจักษุสมิธ-แคตเทิลเวลล์ ในซานฟรานซิสโก เชื่อว่า เหตุที่โมนาลิซายิ้มโปรยปรายได้ขนาดนี้ก็เพราะ “นอยซ์” (noise) หรือมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นในระบบการรับรู้ทางสายตาของผู้ที่มองภาพอันลือโลกชิ้นนี้


นักวิจัยทั้ง 2 ได้นำภาพวาดโมนาลิซาบันทึกลงคอมพิวเตอร์ แล้วสุ่มใส่นอยซ์ลงในภาพหลายๆ แบบ (นอยซ์ หรือ noise ที่หมายถึงสัญญาณรบกวน แต่ในภาพคือจุดสีเล็กที่เกิดขึ้นบนภาพ ทำให้ภาพไม่ชัด อย่างเช่นการดูโทรทัศน์ที่สัญญาณไม่ดีก็จะทำให้เห็นภาพเป็นจุดๆ นั่นคือ “นอยซ์”)

และเมื่อนักวิจัยทั้ง 2 สุ่มใส่นอยซ์ลงในภาพโมนาลิซาแล้ว ก็ให้ผู้สังเกตการณ์จำนวน 12 คนมาดูว่าหน้าตาโมนาจะเปลี๊ยนไป๋มากน้อยแค่ไหน

เมื่อเติม "นอยซ์" ลงไปบนภาพโมนาลิซา จุดสีรบกวนเหล่านี้จึงทำให้คนดูรับความรู้สึกของโม้นาแตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ ผลการพินิจดูภาพโมนาที่มีนอยซ์มาฉาบไว้นั้น ก็เป็นไปตามความคาดหมายของคริสโตเฟอร์และลีโอนอยด์ กล่าวคือ นอยซ์ส่วนที่อยู่ตรงมุมปากทำปากของโมนายกขึ้น จึงทำให้โมนาลิซามีใบหน้าเปื้อนยิ้มอิ่มเอมมีความสุข ส่วนนอยซ์อีกภาพหนึ่งที่อยู่บนปากของโมนากลับทำให้รูปปากแบนลง ภาพนี้เลยทำให้โมนาดูเศร้าสร้อย


อย่างไรก็ตาม จุดรบกวนหรือนอยซ์เหล่านี้ทำให้ผู้สังเกตการณ์ที่มาดูภาพโมนาลิซาที่เคยๆ เห็น เกิดการรับรู้ที่แตกต่างออกไปจากเดิมได้อย่างน่าประหลาดใจ


เทย์เลอร์ เปิดเผยว่า ระบบการรับภาพในสมองของมนุษย์ทั่วไปนั้นจะเปลี่ยนไปตามสิ่งรบกวน และอย่างกรณีภาพโมนาลิซาฉาบนอยซ์คราวนี้ก็เช่นกัน เมื่อผู้มองมองเห็นภาพที่มีเม็ดสีเล็กๆ ไม่ชัดอยู่บนภาพ อนุภาคโฟตอนหรือหน่วยพลังงานของรังสีแสงที่จอตา (เรตินา) รับเข้ามาก็จะเป็นลักษณะแกว่งไปมา (นึกถึงตอนที่เรามองภาพเบลอๆ) จากนั้นเซลล์รับแสงที่จอตาก็จะอ่านค่าเม็ดสีที่มองเห็นผิดเพี้ยน และในที่สุดการรับรู้เม็ดสีที่ผิดเพี้ยนนี้ก็ถูกส่งต่อไปยังเส้นประสาท และสมองในที่สุด


“สิ่งรบกวนโดยธรรมชาติเหล่านี้ ทำให้คนทั่วไปมองภาพโมนาแล้วเห็นว่าภาพชิ้นนี้เปลี่ยนไป มากกว่าที่จะเห็นเหมือนแต่ก่อนว่าโมนามีการแสดงสีหน้าที่น่าสงสัยลึกลับ “นอยซ์” นี่ล่ะจึงทำให้ภาพวาดชิ้นนี้มีพลังจนถึงทุกวันนี้” เทย์เลอร์ เผย พร้อมกับแถมอีกว่า ที่ดาวินชีวาดโม้นาได้ออกมาจนลือลั่นโลกขนาดนี้ เพราะดาวินชีรู้ได้ด้วยสัญชาติญาณศิลปินของเขาแล้วว่า “นอยซ์” นี่ล่ะสามารถสร้างการรับรู้ของคนได้ต่างออกไป


ภาพ “โมนาลิซา” เป็นผลงานชิ้นเอกของลีโอนาโด ดาวินชี จิตรกรชาวอิตาเลียน (และยังเป็นนักดนตรี นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์) ดาวินชีวาดภาพชิ้นนี้ขึ้นในปี 1479 – 1528 โดยหญิงสาวในภาพคือ “ลา จิโอกอนดา ” (La Gioconda) ภรรยาของฟรานเซสโก เดล จิโอกอนดา เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนไม้ มีขนาด 77x53 เซนติเมตร ขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ประเทศฝรั่งเศส ในนาม “ลา โฌกงด์” (La Joconde)


โมนาลิซาในภาพเป็นภาพนั่งของผู้หญิงธรรมดาๆ ที่แต่งกายตามสมัยนิยมในแฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ ในอิตาลีเบื้อหลังเป็นภูเขา โดยดาวินชีได้ใช้เทคนิกภาพสีหม่น (sfumato) ให้ฉากหลังดูนุ่มเบา แต่ใช้โทนสีหนักกับตัวนางแบบ โมนาลิซามีสีหน้าที่แสดงออกมาอย่างน่าฉงน เพราะบางมุมก็รู้สึกถึงความมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ขณะที่บางมุมก็ให้ความรู้สึกแปลกแยกโดดเดี่ยว ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นภาพเหมือนที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก



Friday, April 20, 2007


ผลการศึกษาหลายฉบับเมื่อไม่นานมานี้แนะว่า การบริโภคกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะให้ผลดี ดังตัวอย่างเช่น.. งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกาพบว่าคนที่ดื่มกาแฟวันละ 3 แก้ว มีโอกาสเกิดโรคพาร์คินสันน้อยลงถึง 5 เท่า

การศึกษาของวิทยาลัยสาธารณสุขฮาร์วาร์ดพบว่า ผู้ชายที่ดื่มกาแฟเกินวันละ 6 แก้วลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ราวร้อยละ 50 ขณะความเสี่ยงนี้ในผู้หญิงลดลงเกือบร้อยละ 30

สถาบันมะเร็งของญี่ปุ่นกล่าวว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 - 4 แก้ว อาจลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับลงถึงครึ่งหนึ่ง

แต่สมาคมโรคเบาหวานอังกฤษเตือนว่าอย่าดื่มเกินกว่านี้เพราะการดื่มมากเกินไปอาจทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวาย นอนไม่หลับ และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 แก้ว
ที่มา : คอลัมน์ สาระรอบรู้ อาหาร จากนิตยสารสรรสาระ Reader's Digestฉบับ มกราคม 2550